ออนไลน์ : 22
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลบัวคำ
ที่ตั้ง
ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ ตำบลบัวคำ อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด มีพื้นที่ตั้งอยู่บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2116 โดยอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดร้อยเอ็ดและอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอโพธิ์ชัย มีระยะทางห่างจากจังหวัดร้อยเอ็ดประมาณ 35 กิโลเมตร และห่างจากอำเภอโพธิ์ชัย ประมาณ 6 กิโลเมตร
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลขามเปี้ยและตำบลโพธิ์ศรี
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลเชียงใหม่
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลนาอุดมและตำบลอุ่มเม่า
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลหนองตาไก้
ขนาด (พื้นที่)
ตำบลบัวคำ มีพื้นที่ทั้งหมด 28.54 ตารางกิโลเมตร หรือ 11,695 ไร่
ลักษณะภูมิประเทศ
ตำบลบัวคำมีสภาพทางกายภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง มีพื้นที่ป่าประมาณ 5% ของพื้นที่ทั้งหมด
ประเภทของป่า ได้แก่ ป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง และพื้นที่ทุ่งนาประมาณ 60% ของพื้นที่ทั้งหมด มีสภาพดิน เป็นดินร่วนปนทราย มีลำห้วย จำนวน 4 สาย และหนองน้ำ จำนวน 9 แห่ง
ลักษณะภูมิอากาศ
เป็นแถบมรสุม มี 3 ฤดูกาล คือ
1. ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม - เดือนพฤษภาคม
2. ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน – เดือนตุลาคม
3. ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน – เดือนกุมภาพันธ์
ประชากร
ตำบลบัวคำมีประชากรทั้งสิ้น 5,424 คน แยกเป็นชาย 2,648 คน เป็นหญิง 2,776 คน มีความหนาแน่นโดยเฉลี่ย 212 คน/ตารางกิโลเมตร จำแนกตามหมู่บ้านได้ดังนี้
หมู่ที่ | ชื่อหมู่บ้าน | จำนวนครัวเรือน | ประชากร | ||
ชาย | หญิง | รวม | |||
1 | โคกหนองบัว | 96 | 179 | 195 | 374 |
2 | บัวคำ | 248 | 280 | 297 | 577 |
3 | หนองไฮ | 71 | 133 | 118 | 251 |
4 | เหล่ากลาง | 137 | 229 | 263 | 492 |
5 | หนองแสง | 159 | 299 | 288 | 587 |
6 | เก่างิ้ว | 91 | 154 | 164 | 318 |
7 | บัวทอง | 212 | 353 | 387 | 740 |
8 | บัวคำใต้ | 77 | 112 | 116 | 228 |
9 | เหล่ากลาง | 152 | 277 | 287 | 564 |
10 | หนองแสง | 163 | 318 | 302 | 620 |
11 | โคกหนองบัว | 168 | 314 | 349 | 663 |
รวม | 1,574 | 2,648 | 2,766 | 5,414 |
สภาพทางสังคม
การศึกษา
ตำบลบัวคำมีโรงเรียนประถมศึกษา ซึ่งสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ดเขต 3 จำนวน 2 แห่ง
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลบัวคำ (กศน.) จำนวน 1 แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลบัวคำ จำนวน 1 แห่ง ดังนี้
1. โรงเรียนบ้านโคกหนองบัว ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ต.บัวคำ อ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด
2. โรงเรียนบ้านชุมชนบัวคำ ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ต.บัวคำ อ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด
และมีโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา (ม.1 - ม.3) จำนวน 1 แห่ง คือโรงเรียนชุมชนบัวคำ
3. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลบัวคำ (กศน.) ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ต.บัวคำ
อ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด
4. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลบัวคำ ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ต.บัวคำ อ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด
และมีที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้านครบทุกหมู่บ้าน
การสาธารณสุข
การให้บริการด้านสาธารณสุข ซึ่งมีจำนวนเจ้าหน้าที่ และมีสถานที่ให้บริการ ฯ ดังนี้
ลำดับ | ชื่อสถานที่ / บุคลากร | จำนวน | หน่วยนับ |
1 | มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบัวคำ | 1 | แห่ง |
2 | ศูนย์บริการสาธารณสุขมูลฐานชุมชน (ศสมช.) | 11 | แห่ง |
3 | บุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข - เจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข - พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ - อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) |
1 ๓ 126 |
คน คน คน |
4 | อัตราการใช้ส้วมราดน้ำ คิดเป็นร้อยละ | 100 | คิดเป็นร้อยละ |
5 | อัตราการจัดที่พักที่อยู่อาศัยที่ถูกต้องตามหลักสุขลักษณะ | 95 | คิดเป็นร้อยละ |
ระบบเศรษฐกิจ
การเกษตร
ประชาชนส่วนใหญ่ จำนวน 1,419 ครัวเรือน ประกอบอาชีพทำนาเป็นอาชีพหลัก คิดเป็นร้อยละ 95 ของครัวเรือนทั้งหมด ประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ จำนวน 1,050 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 75 ของครัวเรือนทั้งหมด และมีอาชีพทำไร่ ทำสวน จำนวน 995 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 71 ของครัวเรือนทั้งหมด มีพื้นที่ทำการเกษตรประมาณ 10,062 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 86 ของพื้นที่ทั้งหมด และประกอบอาชีพอื่นๆ อาทิ รับราชการ รับจ้าง คิดเป็นร้อยละ 19 ของครัวเรือนทั้งหมด
ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญของตำบลบัวคำ ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา แตงโม แตงร้าน ถั่วฝักยาว ข้าวโพด มะม่วง อ้อย
แหล่งน้ำธรรมชาติ
- ลำห้วย, ลำธาร จำนวน 4 สาย
- บึง, หนองน้ำ จำนวน 9 แห่ง
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
- ฝาย, พนังกันน้ำ จำนวน 5 แห่ง
- สระน้ำ จำนวน 8 แห่ง
- บ่อน้ำตื้น จำนวน - แห่ง
- บ่อบาดาล, บ่อเจาะ จำนวน 15 แห่ง
- ประปา จำนวน 9 แห่ง
การบริการ
สถานบริการน้ำมัน จำนวน 5 แห่ง แยกเป็น
- ปั้ม 1 แห่ง- หยอดเหรียญ 3 แห่ง
- บรรจุใส่ขวด 1 แห่ง
ร้านขายของชำ/เบ็ดเตล็ด จำนวน 67 แห่ง
ร้านซ่อมรถยนต์/จักรยานยนต์/จักรยาน จำนวน 10 แห่ง
ร้านรับซื้อของเก่า จำนวน 24 แห่ง แยกเป็น
- ร้านรับซื้อของเก่าขนาดใหญ่ 1 แห่ง
- ร้านรับซื้อของเก่าขนาดเล็ก 23 แห่ง
โรงสีขนาดเล็ก จำนวน 17 แห่ง
สถานบริการความบันเทิง จำนวน 4 แห่ง
สถานบริการล้างอัดฉีด จำนวน 2 แห่ง
สถานที่พัก/รีสอร์ท จำนวน 1 แห่ง
บ้านเช่า จำนวน 3 แห่ง
ร้านคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 แห่ง
จุดรับซื้อไม้ยูคา จำนวน 2 แห่ง
จุดรับซื้อมันสำปะหลัง จำนวน 4 แห่ง
โรงน้ำเข็ง จำนวน 1 แห่ง
ลานรับซื้อข้าว จำนวน 1 แห่ง
การพาณิชย์/กลุ่มอาชีพ
ตำบลบัวคำมีการรวมกลุ่มต่างๆ ตามความเหมาะสมของแต่ละหมู่บ้านเพื่อกระจายรายได้ ของชุมชน ดังนี้
ลำดับ |
รายชื่อกลุ่ม |
ลำดับ |
รายชื่อกลุ่ม |
1 |
กลุ่มแม่บ้านออมทรัพย์ หมู่ที่ 1 |
11 |
กลุ่มสตรีบ้านบัวคำใต้ หมู่ที่ 8 |
2 |
กลุ่มออมทรัพย์แม่บ้านบัวคำ หมู่ที่ 2 |
12 |
กลุ่มสตรีแม่บ้านออมทรัพย์ หมู่ที่ 9 |
3 |
กลุ่มสตรีทอผ้าบ้านหนองไฮ หมู่ที่ 3 |
13 |
กลุ่มแม่บ้านบ้านหนองแสง หมู่ที่ 10 |
4 |
กลุ่มสตรีแม่บ้านเหล่ากลาง หมู่ที่ 4 |
14 |
กลุ่มสตรีบ้านโคกหนองบัว หมู่ที่ 11 |
5 |
กลุ่มสตรีแม่บ้านหนองแสง หมู่ที่ 5 |
15 |
กลุ่มเยาวชนตำบลบัวคำ |
6 |
กลุ่มแม่บ้านเก่างิ้ว หมู่ที่ 6 |
16 |
กลุ่มผู้สูงอายุตำบลบัวคำ |
7 |
กลุ่มพัฒนาการเกษตรบ้านเก่างิ้ว หมู่ที่ 6 |
17 |
กลุ่มผู้พิการตำบลบัวคำ |
8 |
กลุ่มพัฒนาสตรีแม่บ้านบัวทอง หมู่ที่ 7 |
|
|
9 |
กลุ่มจักสานบ้านบัวทอง หมู่ที่ 7 |
|
|
10 |
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อการผลิตปุ๋ยชีวภาพ |
|
|
ด้านแรงงาน
ประชาชนตำบลบัวคำที่อยู่ในวัยแรงงานส่วนใหญ่ภายหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้วมักอพยพไปทำงานรับจ้างทั่วไปตามโรงงานอุตสาหกรรมและรับจ้างตัดอ้อย
ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ ๑๐๐ มีสถาบันและองค์กรทางศาสนา จำนวน 9 แห่ง ประกอบด้วย
1. วัดสว่างโพธิ์ใคร หมู่ที่ 1,11
2. วัดธงชัยโพธาราม หมู่ที่ 2
3. วัดไชยทอง หมู่ที่ 3
4. วัดสว่างโพธิ์ศรี หมู่ที่ 4,9
5. วัดแสงทะรังษี หมู่ที่ 5,10
6. วัดฉิมพลีวิจิตราราม หมู่ที่ 6
7. วัดป่าศรีธนะบัวคำ หมู่ที่ 8
8. วัดป่าศรีโพธิ์ชัย หมู่ที่ 10
9. วัดชัยสันติธรรม หมู่ที่ 7
ประเพณีและงานประจำปี
- ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ ประมาณเดือน มกราคม
- ประเพณีบุญข้าวจี่ ประมาณเดือน กุมภาพันธ์
- ประเพณีบุญผะเหวด ประมาณเดือน มีนาคม
- ประเพณีวันสงกรานต์ ประมาณเดือน เมษายน
- ประเพณีบุญบั้งไฟ ประมาณเดือน พฤษภาคม
- ประเพณีวันเข้าพรรษา ประมาณเดือน กรกฎาคม – สิงหาคม
- ประเพณีขับร้องสรภัญญะ ประมาณเดือน กันยายน
- ประเพณีบุญข้าวประดับดิน ประมาณเดือน กันยายน
- ประเพณีบุญข้าวสาก ประมาณเดือน ตุลาคม
- ประเพณีวันออกพรรษา ประมาณเดือน ตุลาคม
- ประเพณีบุญกฐิน ประมาณเดือน พฤศจิกายน
- ประเพณีลอยกระทง ประมาณเดือน ตุลาคม - พฤศจิกายน
- ประเพณีวันออกพรรษา ประมาณเดือน ตุลาคม
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประชาชนในเขตตำบลบัวคำได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ วิธีการทำเครื่องจักสารใช้สำหรับในครัวเรือน วิธีการเลี้ยงไหมและการทอผ้าไหม วิธีการทอเสื่อจากต้นกก วิธีทำลูกประคบสมุนไพร และวิธีการจับปลาธรรมชาติ
ภาษาถิ่น ส่วนมากร้อยละ ๑๐๐ พูดภาษาอีสาน